วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


  บันทึกอนุทิน

   วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

      วัน ศุกร์ ที่ 12 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

สิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งนี้

เพื่อนนำเสนอต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่มที่ 8 พูดถึงเรื่องของ "พัฒนาการทางสติปัญญา"

                  พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของร่างกายและแบบแผนของร่างกายทุกส่วน การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆเป็นขั้นตอน จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้เด็กมีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้าตามลำดับทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
องค์ประกอบของสติปัญญา
1. ความสามารถในด้านความเข้าใจทางภาษา
2. ความสามารถทางตัวเลข
3. ความสามารถในการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงตรรก
5. ความสามารถทางด้านความจำ
6. ความสามารถในเชิงสังเกต
7. ความสามารถทางมิติสัมพันธ์

เพื่อนนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ให้ "วาดภาพสิ่งที่ชอบและรักที่สุดในสมัยเด็กพร้อมบอกว่าได้มาได้อย่างไร"


ภาพนี้ คือ คุณพ่อ ของฉันเองค่ะ ถามว่าได้มายังไงไม่ทราบเหมือนกันค่ะรู้แต่ว่าเกิดมาก็มีพ่อแล้วตั้งแต่เด็กฉันเป็นคนติดพ่อมากไปไหนมาไหนก็ต้องไปกับพ่อถึงขนาดเวลานอนพ่อต้องนอนอยู่ข้างๆตลอดถ้าพ่อยังไม่นอนพ่อก็ต้องส่งมือแขน ขา หรือแม้กระทั้งนิ้วเท้าพ่อก็ต้องยื่นมาให้ลูกสาวคนนี้จับถึงจะนอนหลับได้>>>>>รักพ่อมากค่ะ<<<<<<<

  องค์ประกอบของภาษา
1.  Phonology
- คือระบบเสียงของภาษา
- เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
- หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา

 2. Semantic
- คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
- คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
- ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
เช่น คนกลาง , สวัสดีค่ะ/ครับ
                        











3. Syntax
- คือระบบไวทยากรณ์
- การเรียงรูปประโยค

4. Pragmatic
- คือระบบการนำไปใช้
- ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ  

 แนวคิดนักการศึกษา

1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
  - สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
  - ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง


             Skinner 



John B. Watson

สรุปคือ นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
   - ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
    - การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม\
    - เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
    - เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง
    - เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น

2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา

                  Piaget

           

       -  เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
         -  ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก    

Vygotsky



3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย

Arnold Gesell


    - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
     -  ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
     - เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
     - เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง

4.  แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
                
     Noam Chomsky
                     


   - การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
   - มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด
   - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์

    แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
         - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
         - นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน    
   Richard and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภายในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม
         1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
         2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
         3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์  








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น