บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน ศุกร์ ที่ 5 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.
สิ่งที่ได้ในการเรียนครั้งนี้
ได้ความรู้จากที่เพื่อนแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าห้อง แต่ละกลุ่มได้นำเสนอแต่ละหัวข้อที่แตกต่างกันออกไป
ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นเพื่อให้เข้าใจกันในการสื่อสารความรู้
ความคิด ความต้องการได้แก่ เสียงพูด เสียง สัญญาณต่างๆ รูปภาพ แผนภูมิ ตัวอักษร
ท่าทาง ผู้ใช้จะต้อง เรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจกันได้
สรุป จากคลิป VDO ที่เพื่อนนำมา
จากคลิป VDO แสดงให้เห็นว่าเด็กบางคนกล้าที่จะพูดกับคนแปลกหน้า แต่เด็กบางคนก็ไม่กล้าที่จะพูดและเด็กหลายคนจะแสดงออกได้ดีเมื่อได้อยู่รวมกลุ่มกับเพื่อนหรือคนที่ตัวเองไว้ใจ
กลุ่มที่ 2 พูดถึงเรื่องของ "แนวคิดทางภาษา" ของแต่ละนักทฤษฎี
มีดังต่อไปนี้
เพียเจท์ = เด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น
จอนท์ ดิวอี้ = เด็กจะเรียนรู้ได้ต้องเกิดจากการลงมือทำ
ไวก็อตสกี้ = เด็กจะเรียนรู้ได้โดยเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม
กู๊ดแมน = การเรียนรู้ของเด็กจะเป็นไปตามธรรมชาติ
สรุป
เด็กจะมีพัฒนาการต้องเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตัวของเด็กเอง
กลุ่มที่ 3 พูดถึงเรื่องของ "พัฒนาการทางสติปัญญาเด็กแรกเกิด-2 ปี"
การเรียนรู้ของเด็กแต่ละช่วงอายุ
อายุ 0-1 ขวบ
ทารกแรกเกิด :
ลูกจะใจจดจ่ออยู่กับใบหน้าของคุณเมื่อคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้
และเขาสามารถจดจำใบหน้าของคุณได้
เมื่อลูกได้ยินเสียงคุณเขาจะสอดส่ายสายตามองหาคุณอยู่ไหน
และพยายามมองตามใบหน้าของคุณ ขณะที่คุณกำลังเคลื่อนตัวเข้ามาหา เมื่อลูกอายุมากกว่า
36 ชั่วโมง และเขาจะมองออกว่าเป็นคุณ
เมื่อคุณเข้ามาอยู่ในระยะไม่เกิน 30.5 เซนติเมตร จากสายตาเขา
อายุ 4 สัปดาห์
ถ้าหากคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ทารกในระยะที่เขามองเห็นคุณได้
ทารกจะเฝ้ามองคุณเมื่อคุณคุยกับเขาและเขาจะพยายามเลียนแบบการพูดของคุณด้วย การเผยอปากขึ้นและลงเมื่อเขาร้องไห้เขาจะหยุดร้องเมื่อคุณอุ้มเข้าสู่อ้อมอก
เพราะสำหรับทารกแล้วคุณคือผู้ที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่สุด
ในช่วงนี้ทารกจะเลียนแบบสีหน้าและการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆ
บนใบหน้าของคุณโดยเขาสามารถบังคับเนื้อบนใบหน้าให้ยิ้มและแสดงความรู้สึก ต่างๆ ได้
อายุ 6 สัปดาห์ :
ทารกจะยิ้มไล่หลังคุณไป
และสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
อายุ 8 สัปดาห์ :
ถ้าคุณถือของที่มีสีสันสดใสเหนือศีรษะทารก
เขาจะเงยหน้ามองและใช้เวลาสัก 2-3 วินาทีในการปรับสายตา และจะมองจ้องวัตถุนั้นเมื่อคุณขยับของไปมา
อายุ 3 เดือน :
ทารก
จะมองเห็นของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะเขาได้ทันที
เขาจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและจะส่งเสียงอ้อแอ้ตอบอย่างอารมณ์ดี
ทารกจะคอยหันมองสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น
อายุ 4 เดือน :
ทารกจะแสดงความตื่นเต้นออกมาเมื่อถึงเวลาป้อนนม
เขาจะหัวเราะและจะเอามือปัดป่ายไปเมื่อมีคนเล่นด้วย
เขาชอบให้คุณจับนั่งจะได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว
เมื่อได้ยินเสียงเขาจะหันไปมองทิศที่มาของเสียงนั้น
อายุ 5 เดือน :
ทารกจะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น
และสามารถแสดงความกลัว และความโกรธออกมา
อายุ 6 เดือน :
ทารกจะเริ่มสนใจกระจกเงา
และสนใจที่เห็นใบหน้าตนเองอยู่ในนั้น เขาจะเริ่มชอบอาหารบางอย่างมากเป็นพิเศษ
อายุ 8 เดือน :
ทารกจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง
และเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่” เขาจะสามารถส่งเสียงเหมือนไอเบาๆ ได้เพื่อให้คุณหันมาสนใจเมื่อเขาต้องการอะไรบางอย่างทารกอาจจะเริ่มอยากรับ
ประทานอาหารเองเมื่อถึงช่วงอายุนี้จะเริ่มหัดพูดแล้ว
คุณควรฝึกให้ลูกพูดด้วยการมองเขา และขยับปากเป็นคำพูดทีละคำ
เพื่อเขาจะเลียนแบบการขยับปากของคุณได้
อายุ 9 เดือน :
ทารกจะเริ่มแสดงความปรารถนาของเขาให้คุณรับรู้
เช่น รั้งคุณไว้เมื่อคุณพยายามจะล้างหน้าให้เขา
ทารกจะเริ่มแสดงความสนใจของเล่นและเกมต่างๆ อย่างจริงจัง
บางครั้งเขาอาจหยิบของเล่นขึ้นมาพินิจพิจารณาดูใกล้ๆ หากมีอะไรวางบังอยู่ใต้ผ้า
ทารกจะเปิดผ้าออกดูด้วยความสงสัย
อายุ 10 เดือน :
ทารกเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้
เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ รวมทั้งคำพูดสั้นๆ ง่ายๆ
อายุ 11 เดือน :
ทารกจะเริ่มเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นง่ายๆ
เขาจะชอบทิ้งหรือโยนของเล่นลงพื้นแล้วเก็บขึ้นมาใหม่ ทารกจะเริ่มส่งเสียงดัง
เขาชอบหยิบของเล่นมาเขย่าให้เกิดเสียง
พัฒนาการทางสติปัญญา
อายุ 12 เดือน : ทารก ชอบดูรูปภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ และชอบทำตลกให้คุณหัวเราะ
เขารู้ว่าต้องยกแขนขึ้นเมื่อคุณจะสวมเสื้อให้ รู้ความหมายของคำสั้นๆ ง่ายๆ
ที่ใช้บ่อยๆ เช่น รองเท้า ขวดนม อาบน้ำ รวมทั้งเขาอาจจะพูดอะไรได้สักคำสองคำ
อายุ 15 เดือน : ทารก จะเริ่มแสดงให้คุณเห็นว่าเขาอยากทำอะไรเองบ้าง เช่น การหวีผม เขารู้ว่าการหอมแก้มคืออะไรและเขาจะหอมคุณเมื่อคุณขอ ทารกจะตื่นเต้นมากเมื่อเขาสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้สำเร็จ และเขาอยากช่วยคุณทำงานบ้าน เช่น การปัดฝุ่น เป็นต้น เขาอาจไม่เข้าใจคำพูดทุกคำของคุณ แต่จะสามารถเข้าใจความรวมๆ ของรูปประโยคที่ซับซ้อนได้
อายุ 18 เดือน : เมื่อคุณกับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล วัว และอาจพูดออกมาดังๆ ว่า “วัว” เป็นการแสดงความเข้าใจและความสามารถในการสื่อสารออกมา เด็กจะเริ่มรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายและชี้ได้ถูก เมื่อคุณถามว่าอวัยวะต่างๆ ของตัวเขาอยู่ตรงไหน รวมทั้งเขาจะรู้ความแตกต่าง แยกแยะได้ว่าไหนคือจมูกของแม่ และไหนคือจมูกของเขา นอกจากนี้คุณยังสามารถสั่งให้เขาช่วยหยิบของให้คุณได้อีกด้วย
อายุ 21 เดือน : เมื่อเด็กสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีปัญหาอะไร เขาจะเดินมาเรียกคุณให้ไปดู เขาจะชอบจับดินสอขึ้นมาขีดเล่น รวมทั้งเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามคำขอร้อง เข้าใจคำถามที่คุณถามเขา
อายุ 2 ปี : เด็ก จะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว เขาจะเริ่มใช้ดินสอขีดเขียนในลักษณะเลียนแบบตัวหนังสือ เด็กจะเริ่มรู้ชื่อของ สิ่งของต่างๆ ให้ เขาจะพูดคำนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
อายุ 15 เดือน : ทารก จะเริ่มแสดงให้คุณเห็นว่าเขาอยากทำอะไรเองบ้าง เช่น การหวีผม เขารู้ว่าการหอมแก้มคืออะไรและเขาจะหอมคุณเมื่อคุณขอ ทารกจะตื่นเต้นมากเมื่อเขาสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้สำเร็จ และเขาอยากช่วยคุณทำงานบ้าน เช่น การปัดฝุ่น เป็นต้น เขาอาจไม่เข้าใจคำพูดทุกคำของคุณ แต่จะสามารถเข้าใจความรวมๆ ของรูปประโยคที่ซับซ้อนได้
อายุ 18 เดือน : เมื่อคุณกับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล วัว และอาจพูดออกมาดังๆ ว่า “วัว” เป็นการแสดงความเข้าใจและความสามารถในการสื่อสารออกมา เด็กจะเริ่มรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายและชี้ได้ถูก เมื่อคุณถามว่าอวัยวะต่างๆ ของตัวเขาอยู่ตรงไหน รวมทั้งเขาจะรู้ความแตกต่าง แยกแยะได้ว่าไหนคือจมูกของแม่ และไหนคือจมูกของเขา นอกจากนี้คุณยังสามารถสั่งให้เขาช่วยหยิบของให้คุณได้อีกด้วย
อายุ 21 เดือน : เมื่อเด็กสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีปัญหาอะไร เขาจะเดินมาเรียกคุณให้ไปดู เขาจะชอบจับดินสอขึ้นมาขีดเล่น รวมทั้งเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามคำขอร้อง เข้าใจคำถามที่คุณถามเขา
อายุ 2 ปี : เด็ก จะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว เขาจะเริ่มใช้ดินสอขีดเขียนในลักษณะเลียนแบบตัวหนังสือ เด็กจะเริ่มรู้ชื่อของ สิ่งของต่างๆ ให้ เขาจะพูดคำนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
ทฤษฎีของเพียเจท์ เพียเจท์ได้กล่าวว่า
การเรียนรู้ของเด็กจะเป็นไปตามขั้นตอนและวัยของเด็กไม่ควรไปเร่งรัดเด็กเพราะเด็กจะเกิดการพัฒนาไปตามขั้นตอนของเด็กเองในแต่ละคน
VDOในการนำเสนอ พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กแต่ละคนในช่วงอายุ 2-4 ปี
พัฒนาการทางภาษาของเด็กอายุ 4 – 6 ปี
1. บอกชื่อ นามสกุล และที่อยู่ได้
2. รู้จักเพศของตัวเอง
3. ชอบถามทำไม เมื่อไร อย่างไร และถามความหมายของคำ
และมักเป็นคำถามที่มีเหตุผลมากขึ้น
4. เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์ เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์จาก 4,000
- 6,000 คำ และสามารถพูดได้ 5-6 ประโยคต่อคำ
สามารถเล่าเรื่องซ้ำ 4 -5 ลำดับขั้น หรือ 4 -5 ประโยคในเรื่องหนึ่งได้
5. เข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบคำถามนั้นได้ แม้ในเด็กบางคนอาจจะยังพูดติดอ่าง
แต่ก็สามารถแก้ไขได้
6. ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง ให้คนอื่นๆ ฟัง ทั้งพ่อแม่
คนรอบข้าง และเพื่อน
7. คิดคำขึ้นมาใช้โต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้
8. มักให้ความสนใจในภาษาพูดของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำแสลง หรือคำอุทาน
9. ชอบเรื่องสนุก ตลก ชอบภาษาแปลกๆ ชอบฟังนิทานมาก และชอบฟังเพลง
มักจะคอยฟังเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน จดจำคำศัพท์ และบทสนทนาเหล่านั้น
โดยเฉพาะคำแสลงหรือคำอุทาน
10. สามารถบอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นได้
หรือเล่าเรื่องที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ และจะเล่นเป็นสุนัข เป็ด หรือสัตว์ต่างๆ
ในเรื่องนั้น พร้อมทำเสียงสัตว์เหล่านั้นประกอบได้
11. สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าในหนังสือเด็ก
สรุปผู้ใหญ่ควรส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาให้กับเด็ก เช่น
- ควรตอบคำถามของเด็กด้วยคำตอบ สั้น เข้าใจง่าย และใช้ภาษาที่ถูกต้อง
- ไม่ควรถือป็นอารมณ์เมื่อเด็กพูดคำหยาบ ไม่สุภาพต่างๆ ควรมีท่าทีไม่สนใจถ้อยคำเหล่านั้น ไม่นานเด็กจะเลิกพูดไปเอง
- สร้างทักษะพื้นฐานอื่นๆ ทางภาษาที่เกี่ยวข้องกับสติปัญญา เช่น อ่านหนังสือให้เด็กฟังเป็นประจำ
- ควรสอนให้เด็กเข้าใจจำนวนจากสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น
ขนม 1 ชิ้น นก 2 ตัว
และสอนการเพิ่มหรือลดจำนวนจากภาษาที่ใช้ เช่น "ได้เพิ่มมาอีก" หรือ
"บินหายไป" เป็นต้น ความเข้าใจพื้นฐานจากสิ่งเหล่านี้
จะเชื่อมโยงไปสู่ความหมายของสัญลักษณ์ และการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขั้นต่อไป
- เมื่อเด็กเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง
และแต่งเติมเสริมต่อ ควรปล่อยให้เด็กเล่า และไม่ตำหนิติเตือน
กลุ่มที่ 6 พูดถึงเรื่องของ "จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย"
การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์การและการเรียนรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ
4 องค์ประกอบคือ
1. แรงขับ2. สิ่งเร้า
3. การตอบสนอง
4. การเสริมแรง การให้แรงเสริมมีทั้ง (ทางบวก) และ (ทางลบ)
4. การเสริมแรง การให้แรงเสริมมีทั้ง (ทางบวก) และ (ทางลบ)
สรุป
เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้ต้องมีองค์ประกอบทั้ง4องค์ประกอบนี้และองค์ประกอบทั้ง4นี้จะต้องเป็นสื่อกลางที่ดีแก่ตัวเด็กจึงจะทำให้เด็กมีประสบการณ์ที่ดี
กลุ่มที่ 7 พูดถึงเรื่องของ "วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย"
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญาและการช่วยเหลือตัวเองเป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี 2 อย่างคือ
1. การขยายโครงสร้าง (Assimilation) คือ การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม
2.การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation) คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
สรุป
ได้ว่า พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างก็เป็นตัวกำหนดสติปัญญาหรือกำหนดศักยภาพของสมอง นั้น ไม่สามารถแยกว่าเป็นเพราะอิทธิพลของพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นเพราะทั้งสององค์ประกอบร่วมกัน
กลุ่มที่ 8 พัฒนาการทางสติปัญญา
(ยังไม่ได้นำเสนอ)
กลุ่มที่ 9 พูดถึงเรื่องของ "องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา"
องค์ประกอบของภาษา
1. เสียง เกิดจากการเปล่งเสียงแทนพยางค์ และคำ
2. พยางค์และคำ เกิดจากการประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
1. เสียง เกิดจากการเปล่งเสียงแทนพยางค์ และคำ
2. พยางค์และคำ เกิดจากการประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
3.
ประโยค เกิดจากการนำ คำ มาเรียงกันตามลักษณะ โครงสร้างของภาษาที่กำ หนด
เป็นกฎเกณฑ์หรือเป็นระบบไวยากรณ์ของแต่ละภาษา
4.
ความหมาย คือ ความหมายที่เกิดจากคำหรือประโยคเพื่อใช้ในการสื่อสารทำความเข้าใจกัน
ภาษาไทยมีวิวัฒนาการมา
กลุ่มที่ 10 พูดถึงเรื่องของ "หลักการจัดประสบการณ์ (ภาษาธรรมชาติ)"
หลักการจัดประสบการณ์มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและวิธีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เมาะสม4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและวิธีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เมาะสม4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น