วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


  บันทึกอนุทิน


   วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

      วัน ศุกร์ ที่ 21 เดือน มิถุนยน พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.



  เรียนเรื่อง  ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
                

ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก

ความสำคัญของภาษา 
1. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2.เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3.เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4.เป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจของมนุษย์เรา

ทักษะทางภาษา :
1.การฟัง ใช้หูในการรับรู้
2.การพูด ใช้ปากสื่อถึงบุคคลอื่น
3.การอ่าน การใช้สายตาเพื่อการรับรู้
4.การเขียน เขียนสื่อถุงบุคคลอื่น
ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของ  Piaget
      การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญาของเด็ก เพราะ ภาษาจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ เช่น การพูดคุยกันกับเพื่อน

กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ
1.การดูดซึม Assimilation                                                                                                                                                   เป็นการที่เด็กได้รู้ ได้ดูดซึมภาพต่างๆจากสภาพแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง เช่น สัตว์ที่มีปีก เด็กก็จะคิด   ว่าเป็นนก
2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่Accomodation                                                                         เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม โดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือ      ประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ  เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดความสมดุล Equilibrium กลายเป็น    ความคิดรวบยอดของสมอง
 Piaget : ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดั้งนี้
      1. ด้านประสาทสัมผัส Sensorimotor Stage 
แรกเกิด – 2 ปี เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัส เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว
      2. ความคิดอย่างมีเหตุผล Preoperational Stage 
อายุ 0 – 4 ปี เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร เล่นบทบาทสมมุติ การเล่าเรื่อง ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง 
อายุ 4 – 7 ปี ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้างให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง
      3. การคิดแบบรูปธรรม Concrete Operational Stage 
อายุ 7 – 11 ปี เด็กสามารถแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลที่เป็นรูปธรรม
      4.นามธรรม Formal Operational Stage 
อายุ 11 – 15 ปี เด็กคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาเข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคม 

พัฒนาการทางภาษา
       เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และความเข้าใจเป็นลำดับขั้นตอน ครูต้องเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง ควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการ การเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก
จิตวิทยาการเรียนรู้
1. ความพร้อม
- วัย ความสามารถ และประสบการณ์เดิมของเด็ก
2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
- อิทธิพลทางพันธุกรรม
- อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
3.การจำ
- การเห็นบ่อยๆ การทบทวนเป็นระยะ การจัดหมวดหมู่ การใช้คำสัมผัส
4.การให้แรงเสริม
- แรงเสริมทางบวก
- แรงเสริมทางลบ

สรุปสิ่งที่ได้ในการเรียน

          ได้รู้และเข้าใจความหมายของภาษาว่า ภาษา คือ การสื่อความหมาย ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึกและยังได้ความสำคัญของภาษาว่าภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการสื่อสารและทักษะทางภาษาจะประกอบด้วยการฟัง พูด อ่าน และเขียน และยังได้รู้ถึงทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กว่ามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น