วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6


  บันทึกอนุทิน

   วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

      วัน ศุกร์ ที่ 19 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

สิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งนี้

  แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

  1. การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา 
            Skill Approch
         - ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
         - การประสมคำ
         - ความหมายของคำ
         - นำมาประกอบเป็นประโยค
         - การแจกรูปสะกดคำ การเขียน
         - ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ
          - ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

การแจกลูกของภาษา













การอ่านสะกดคำ













การแจกลูกขของภาษาและการอ่านสะกดคำ
- ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก
- ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

 Keneth Goodman
    - เสนอแนวทางการสอนแบบธรรมชาติ
    - มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
    - แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
    ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
     - สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
     - ช่างสงสัย ช่างซักถาม
     - มีคามคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
     - ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
     - เลียนแบบคนรอบข้าง

   2. การสอนภาษแบบธรรมชาติ
          Whole Language
       ทฤษฎีมีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
           Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday
              - เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
       - การเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเอง และการได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
             - อิทธิพลองสังคมและบุคคลอื่นๆ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
       การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
            - สอนบูรณาการ / องค์รวม
            - สอนในสิ่งที่เด็กสนใจ และมีความหมายสำหรับเด็ก
            - สอนสิ่งที่ใกล้ตัวเองและอยู่ในชีวิตประจำวัน
            - สอนแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
            - ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
            -ไม่บังคบให้เด็กเขียน
  หลักของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
     1. การจัดสภาพแวดล้อม
         - ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
         - หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
         - เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
     2. การสื่อสารที่มีความหมาย
         - เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
         - เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
        - เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
  3. การเป็นแบบอย่าง
         - ครูอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
        - ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
    4. การตั้งความคาดหวัง
        - ครูเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและเขียน
        - เด็กสามารถอ่าน เขียน ได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
   5. การคาดคะเน
        - เด็กมีโอกาสในการทดลองภาษา
        - เด็กได้คาดเดา หรือคาดคะเนเรื่องที่อ่าน
       - ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมอนผู้ใหญ่
    6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
           - ตอบนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
          - ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
          - ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
 7. การยอมรับนับถือ
          - เด็กมีความแตกต่างระหว่าบุคล
           - เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
          - ในช่วงเวลาเดียวกันไม่จำเป็นต้องกระทำสิ่งเดียวกัน
          - ไม่ทำกิจกรรมตามจังหวะขั้นตอน
     8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
         - ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยเมื่อใช้ภาษา
        - ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
        - ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสารถ
        - มีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ
 บทบาทครู
 - ครูคาดหวังเด็กแต่คนแตกต่างกัน
 - ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่านการเขียน
 - ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
ครูสร้างความสนใจ ในคำและสิ่งพิมพ์

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งนี้

             ได้รู้ถึงแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้กับเด็กปฐมวัยว่าเราควรจะมีแนวทางในการจัดแบบใดและจะสามารถทำให้เด็กรับรู้ได้ได้อย่างไร และได้รู้ว่าธรรมชาติของเด็กเป็นแบบใดเราก็ควรที่จะเปิดโอกาศให้เด็กได้คิดได้แสดงออกด้วยตนเองควรให้อิสระแก่เด็กเพราะเด็กในวัยนี้ยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่เข้าใจได้ยาก ควรสอนตามใจเด็กในสิ่งที่เด็กอยากทำไม่ใช่สอนตามใจเรา และที่สำคัญภาษาธรรมชาติจะยึดธรรมชาติของเด็กจริงๆจะต้องไม่ยึดเอาการอ่านสะกดคำกับเด็ก และจากที่ได้ดูวีดีโอก็ได้ทราบว่าเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันเพราะฉะนั้นเราไม่ควรไปคาดหวังให้เด็กทุกคนทำทุกอย่างได้เหมือนกันครูไม่ควรที่จะไปบังคับหรือปิดกั้นเด็ก








วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


  บันทึกอนุทิน

   วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

      วัน ศุกร์ ที่ 12 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

สิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งนี้

เพื่อนนำเสนอต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่มที่ 8 พูดถึงเรื่องของ "พัฒนาการทางสติปัญญา"

                  พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของร่างกายและแบบแผนของร่างกายทุกส่วน การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆเป็นขั้นตอน จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้เด็กมีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้าตามลำดับทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
องค์ประกอบของสติปัญญา
1. ความสามารถในด้านความเข้าใจทางภาษา
2. ความสามารถทางตัวเลข
3. ความสามารถในการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงตรรก
5. ความสามารถทางด้านความจำ
6. ความสามารถในเชิงสังเกต
7. ความสามารถทางมิติสัมพันธ์

เพื่อนนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ให้ "วาดภาพสิ่งที่ชอบและรักที่สุดในสมัยเด็กพร้อมบอกว่าได้มาได้อย่างไร"


ภาพนี้ คือ คุณพ่อ ของฉันเองค่ะ ถามว่าได้มายังไงไม่ทราบเหมือนกันค่ะรู้แต่ว่าเกิดมาก็มีพ่อแล้วตั้งแต่เด็กฉันเป็นคนติดพ่อมากไปไหนมาไหนก็ต้องไปกับพ่อถึงขนาดเวลานอนพ่อต้องนอนอยู่ข้างๆตลอดถ้าพ่อยังไม่นอนพ่อก็ต้องส่งมือแขน ขา หรือแม้กระทั้งนิ้วเท้าพ่อก็ต้องยื่นมาให้ลูกสาวคนนี้จับถึงจะนอนหลับได้>>>>>รักพ่อมากค่ะ<<<<<<<

  องค์ประกอบของภาษา
1.  Phonology
- คือระบบเสียงของภาษา
- เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
- หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา

 2. Semantic
- คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
- คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
- ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
เช่น คนกลาง , สวัสดีค่ะ/ครับ
                        











3. Syntax
- คือระบบไวทยากรณ์
- การเรียงรูปประโยค

4. Pragmatic
- คือระบบการนำไปใช้
- ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ  

 แนวคิดนักการศึกษา

1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
  - สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
  - ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง


             Skinner 



John B. Watson

สรุปคือ นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
   - ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
    - การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม\
    - เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
    - เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง
    - เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น

2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา

                  Piaget

           

       -  เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
         -  ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก    

Vygotsky



3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย

Arnold Gesell


    - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
     -  ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
     - เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
     - เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง

4.  แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
                
     Noam Chomsky
                     


   - การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
   - มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด
   - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์

    แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
         - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
         - นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน    
   Richard and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภายในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม
         1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
         2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
         3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์